Saturday, November 7, 2009

คำศัพท์งานเรือ

สวัสดีครับเป็นอย่างไรกันบ้างครับ คำศัพท์บางคำเราก็คงพอจะคุ้นกันบ้างนะครับ เพียงแต่ว่าเราไม่ค่อยหรือไม่เคยที่จะใช้มันกันซักเท่าไหร่ มาดูกันต่อเลยครับ
EMBARKATION อ่านว่า เอ็มบาร์กเคชั่น แปลว่า ลงเรือ หรือภาษาโรงแรมก็คือการ check in นั่นเอง การลงเรือในวันแรกเท่านั้นถึงจะเรียกว่า EMBARKATION ส่วนการลงเรือ[จริงๆแล้วมันคือการขึ้นเรือเสียมากกว่า] ในวันต่อๆไปในระหว่าง cruise เราก็จะเรียกว่า onboard คำว่า EMBARKATION จะใช้ในวันแรกที่มีการ check in เท่านั้น
DISEMBARK อ่านว่า ดิสเซมบาร์ค แปลว่า การออกจากเรือ หรือการขึ้นเรือนะแหละ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในวันสุดท้าย ก็คือการ check out นั่นเอง
PASSENGER อ่านว่า แพซ-เซ็นเจอร์ แปลว่า ผู้ที่มาใช้บริการหรือลูกค้านะแหละครับ วงการเรือ เครื่องบิน รถโดยสาร รถไฟ อะไรพวกนี้เขาจะเรียกลูกค้าว่า PASSENGER ส่วนวงการโรงแรม ร้านอาหาร และการบริการส่วนใหญ่จะเรียกลูกค้าว่า guest ส่วนธุรกิจการค้าขายทั่วไป เช่นห้างสรรพสินค้า บริษัทขายสินค้าต่างๆ จะเรียกลูกค้าว่า customer แต่ว่าบ้านเราเรียกรวมๆกันได้หมดเลย และสรุปแล้วไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ช่าง บุคคลกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่งี่เง่าและก็เอาแต่ใจ แบบว่าข้าต้องถูกเสมอ เป็นซะส่วนใหญ่ ผมทำงานด้านบริการมาก็เกือบจะ 20 ปีเข้าไปแล้วครับ เห็นมาเยอะแล้ว
CREW อ่านว่า ครู [ไม่ใช่นักเรียนนะครับ] แปลว่า พนักงานครับ และสำหรับเราก็คือลูกเรือนี่แหละครับ ก็เหมือนกันครับ คำที่แปลว่าพนักงานนั้นก็มีอยู่ตั้งมากมายครับ วงการเรือ เครื่องบิน รถโดยสาร รถไฟ อะไรพวกนี้เขาจะเรียกพนักงานว่า crew ส่วนบริษัทห้างร้านก็จะเรียกว่า employee ครับ และบางบริษัทเช่นงานด้านการบันเทิง หรือบริษัทจัดงาน event ต่างๆ พวกนี้จะเรียกพนักงานว่า staff ซะส่วนใหญ่ แต่สรุปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มไหนก็ช่างเถอะครับ ภาษาไทยแปลไว้ชัดเจนมากครับว่าลูกจ้าง
STAFF อ่านว่า ซทัฟ แปลว่า พนักงานเหมือนกันครับ แต่บนเรือนี้จะหมายถึงลูกจ้างกลุ่มหนึ่งที่จะแบ่งแยกกันตามลำดับขั้นและสิทธิประโยชน์ที่แต่ละตำแหน่งจะได้รับ staff ก็จะจัดอยู่ในระดับกลาง หรือตั้งแต่ตำแหน่ง supervisor ขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น casino staff,shop staff,youth staff,production staff ประมาณนี้แหละครับ เดี๋ยวไปอยู่ซักพักนึงก็จะเข้าใจไปเองแหละ
OFFICER อ่านว่า อ็อฟ ฟิเซอะ แปลว่า เจ้าพนักงาน หรือว่าลูกจ้างชั้นดีว่างั้นเถอะ พนักงานระดับนี้ก็จะสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะทำงาน office งานสะบายแต่เงินเยอะนะแหละ ยกตัวอย่างเช่น computer officer,technical officer,security officer,navigator officer อะไรทำนองนี้แหละครับ
เอาละครับก็ได้รู้จักสามระดับขั้นของพนักงานกันไปแล้ว คนเรานี่ที่จริงแล้วพูดถึงเรื่องความเสมอภาคกันมาตลอดและแต่ละคนแต่ละที่ก็มักจะพูดเสมอว่า มีความเสมอภาคกันแต่จริงๆ แล้วไม่มีความเสมอภาคในที่ใดๆในโลกนี้อย่างแน่นอน ทำไมนะเหรอครับ อดทนอ่านต่อไปอีกนิดนึงนะครับผมจะเล่าให้ฟังว่าทำไม โดยเฉพาะบนเรือ มาดูความแตกต่างของสามระดับงานตรงนี้นะครับ
เริ่มต้นเรื่องแรกเลยครับก็คือเรื่องอาหารการกิน ที่รับประทานอาหารบนเรือจะใช้คำว่า MESS ถ้าเป็นโรงแรมก็จะใช้คำว่า canteen เริ่มจากตรงนี้เลยครับ
crew mess จะเป็นที่ที่พนักงานในระดับ crew มารัปทานอาหารกัน แน่นขนัดกันครับในชั่วโมงเร่งด่วน อาหารก็งั้นๆ แหละ แถมไม่ค่อยจะมีอะไรที่พอกินได้แบบถูกปากซะด้วย
staff mess จะเป็นที่ที่เตรียมไว้สำหรับพนักงานระดับ staff /supervisor มารัปทานอาหารกันที่นี่ ห้องนี้จริงๆแล้วผมก็มีสิทธิมาใช้บริการเหมือนกัน แต่ว่าไม่มีเพื่อน เพราะเพื่อนส่วนใหญ่อยู่ที่ crew mess กันหมด ก็เลยไปใช้บริการที่ crew mess ซะส่วนใหญ่ ห้องนี้ก็จะดูดีกว่า crew mess ขึ้นมาอีกหน่อยนึง เพราะว่าคนที่มาใช้บริการน้อย อาหารก็เลยดูดี อยู่ตลอดเวลา ที่โต๊ะก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือเตรียมไว้ให้พร้อม ตอนเย็นยังมีไวน์ไว้คอยบริการอีก แจ่มจริงๆ
officer mess จะเป็นที่ที่พนักงานระดับ officer ทั้งหลายมาใช้บริการกัน บรรยากาศนะเหรอครับอย่าให้พูดเลยครับ ร้านอาหารบางที่ก็ยังไม่หรูดูดีเท่านี้ครับ ห้องนี้จะเป็นการบริการแบบ full service ครับ สามารถสั่งอาหารได้ทุกอย่างที่มีเตรียมไว้ให้ passenger เขาเหล่านี้ก็สามารถสั่งได้เช่นกัน ต่างกันลิบลับเลยครับกับห้องอาหารของ crew mess เห็นไหมละครับว่าความเสมอภาคนะมันไม่มีแล้วละครับบนโลกใบนี้ เดี๋ยครั้งต่อไปจะกลับมาดูเรื่องห้องพัก cabin กันนะครับแล้วจะเห็นความแตกต่างมากขึ้นครับ สวัสดีครับ

No comments:

Post a Comment